หลวงพี่รูปหนึ่งนั่งสมาธิอยู่ริมน้ำ ได้ยินเสียงดิ้นรนในน้ำก็ลืมตาขึ้น เห็นแมงป่องตกอยู่ในน้ำ
ท่านก็ใช้มือช้อนมันขึ้นมา ขณะเดียวกันแมงป่องก็ชูหางขึ้นแล้วต่อยไปที่มือท่าน ท่านปล่อยแมงป่องลงที่ฝั่ง แล้วหลับตาทำสมาธิต่อ
ผ่านไปสักครู่ก็ได้ยินเสียงดิ้นรนในน้ำอีก ท่านลืมตาขึ้น เห็นแมงป่องตกลงไปในน้ำอีก ก็เอามือช้อนมันขึ้นมาอีก แน่นอนแมงป่องก็ต่อยไปที่มือท่านอีก ท่านก็หลับตาทำสมาธิต่อ
ผ่านไปสักครู่ เหตุการณ์ก็ได้เกิดขึ้นซ้ำอีก
หลวงตาที่อยู่ข้างๆ ก็พูดขึ้น “ท่านไม่รู้หรือว่าแมงป่องมันต่อยคน?”
หลวงพี่ตอบว่า “รู้ โดนมันต่อยสามครั้งแล้ว”
หลวงตาพูดว่า “แล้วท่านทำไมยังจะช่วยมันอีก”
หลวงพี่ตอบว่า “การต่อยคนเป็นสัญชาตญาณของมัน แต่ความเมตตาเป็นสัญชาตญาณของเรา สัญชาตญาณของมันไม่สามารถเปลี่ยนสัญชาตญาณของเรา”
ขณะนั้นเองก็ได้ยินเสียงดิ้นรนในน้ำอีก แมงป่องตัวเดิมนั่นแหละ
หลวงพี่ไม่รีรอ เตรียมที่จะนำมือที่บวมเป่ง ยื่นไปช่วยมัน
ขณะเดียวกัน หลวงตาก็ยื่นกิ่งไม้ให้กับหลวงพี่ ท่านก็นำกิ่งไม้ช้อนแมงป่องขึ้นมา
หลวงตายิ้มและพูดว่า
“ความเมตตานั้นดี ในเมื่อมีความเมตตาต่อแมงป่องก็ต้องมีความเมตตาต่อตัวเองด้วย ฉะนั้นความเมตตาต้องมีวิธีการของความเมตตา ต้องดูแลตัวเองให้ดี ถึงจะมีสิทธิไปช่วยผู้อื่น”
เรื่องนี้ทำให้ได้คิดถึงประโยคหนึ่งที่ผู้คนชอบพูดกันในปัจจุบันนี้ว่า “เดี๋ยวนี้จะทำตัวเป็นคนดีนั้นยาก”
ใช่แล้ว สัญชาตญาณของคนดี คือ ทำความดี แต่ผู้ถูกช่วยอาจจะไม่ใช่คนดี และผลของการช่วยคนก็อาจจะไม่เกิดผลที่ดี แล้วทำไมจึงเป็นเช่นนี้?
เหมือนกับที่หลวงตาพูดไว้ “เมตตาต้องมีวิธีการของความเมตตา”
“ความเมตตานั้นดี ในเมื่อจะเมตตาต่อแมงป่องก็ต้องเมตตาต่อตัวเองด้วย”
ความเป็นจริงเตือนเราว่า ต้องรู้จักรับผิดชอบต่อตัวเองก่อน ถึงจะสามารถรับผิดชอบต่อผู้อื่นได้อย่างแท้จริง คนที่ไม่สามารถรับผิดชอบต่อตัวเอง แล้วจะไปรับผิดชอบต่อผู้อื่น จะเป็นไปได้ไหม? ต้องดูแลตัวเองให้ดีก่อน ถึงจะมีสิทธิ์ไปดูแลผู้อื่น และประโยคนี้ก็ชอบมาก
สัญชาตญาณของแมงป่องนั้นต่อยคน แต่สัญชาตญาณของเรา คือ ความเมตตา สัญชาตญาณของมันจะไม่สามรถมาเปลี่ยนสัญชาตญาณของเรา
“ความเมตตานั้นดี ในเมื่อจะเมตตาต่อแมงป่องก็ต้องเมตตาต่อตัวเองด้วย และต้องมีวิธีการของความเมตตาด้วย”
จะไม่ให้ความเลวของผู้อื่นมามีอิทธิพลกับความดีของเรา จะไม่ยอมให้การกระทำและวาจาของผู้อื่นมามีผลต่อจิตใจและการกระทำของเรา ผู้ที่มีปัญญาสามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ แต่ผู้โง่เขลาเบาปัญญานั้น อารมณ์ของตนจะขึ้นอยู่กับพฤติกรรมและวาจาของผู้อื่น
“จงอย่าทอดที้งความดีของเราเพราะความเลวของผู้อื่น”
“โยนิโสมนสิการ” เจริญพร.