เป็นพระคาถาที่ท่านโบราณาจารย์หวงแหนปิดบังกันมาก
-
อำนาจของมนต์พระคาถาบทนี้ผู้ใดได้เล่าบ่นจำเริญไว้ประจำ หมั่นทำบุญตักบาตรเป็นนิจสิน แล้วสวดพระคาถานี้ อธิษฐานปรารถนาเอาสิ่งซึ่งตนพึงประสงค์ สิ่งนั้นจะพลันอุบัติให้ได้ด้วยอำนาจเทพยดาบันดาลให้เป็นไป
-
ภาวนาพระคาถาบทนี้แล้วไซร้จะคิดทำอย่างไร อย่าพูดคำว่า “ไม่มี-ไม่ได้” เพราะอำนาจของพระคาถานี้จะดลบันดาลให้ได้สำเร็จดุจเยี่ยงเดียวกับอนุรุทธกุมารซึ่งท่านไม่เคยรู้จักคำว่า “ไม่มี” เลยตลอดชนมายุของท่านแล
จากนั้นท่านได้ไปขออนุญาตพระมารดา พระมารดาคงไม่ประสงค์ให้ท่านบวชจึงกล่าวท้าทายว่าถ้าหากชวนพระเจ้าแผ่นดินศากยะออกบวชได้ จึงจะอนุญาตให้บวช ท่านจึงไปรบเร้าและชวนพระเจ้าภัททิยะราชาให้ออกบวช ในขั้นแรกพระเจ้าภัททิยราชาปฏิเสธ จนสุดท้ายพระอนุรุทธะรบเร้าหนักเข้าและพระเจ้าภัททิยะราชาคงเห็นคุณแห่งการออกบวชจึงยอมสละราชสมบัติออกผนวชตาม
ดังนั้นเจ้าชายอนุรุทธะจึงพร้อมกับเจ้าราชกุมารทั้ง 5 คือ พระเจ้าภัททิยะศากยะราชา, เจ้าชายอานันทะ, เจ้าชายภัคคุ, เจ้าชายกิมพิละ และเจ้าชายเทวทัตต์ และนายช่างกัลบกนามว่านายอุบาลีภูษามาลาอีก 1 ท่าน รวมเป็น 7 ออกบวช ณ อนุปิยอัมพวัน ในอนุปิยนิคม แคว้นมัลละ โดยในวันผนวชนั้น เจ้าชายทั้ง 6 ได้ตกลงกันให้นายอุบาลีผู้เป็นช่างภูษามาลาออกบวชก่อนตน เพื่อจะได้ทำความเคารพเป็นการลดทิฐิและมานะแห่งความเป็นเชื้อสายกาษัตริย์ ของตนลง โดยทั้งหมดได้อุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทาโดยตรงจากพระพุทธเจ้า
เมื่อพระอนุรุทธะออกบวชแล้ว ได้ไปเรียนกัมมัฏฐานกับพระสารีบุตร แล้วเข้าไปปฏิบัติพระกรรมฐานในป่าปาจีนวังสมฤคทายวัน ได้ตรึกถึงมหาปุริสวิตก 7 ประการ ว่าเป็นธรรมะของผู้ปรารถนาน้อย ยินดีด้วยสันโดษ ไม่ใช่ธรรมของผู้มักมาก พระพุทธเจ้าเสด็จไปถึงทรงทราบความนั้นจึงตรัสแสดงมหาปุริสวิตกข้อที่ 8 ว่าเป็นธรรมของผู้ไม่เนิ่นช้า พระอนุรุทธะเจริญสมณธรรมต่อไปก็ได้บรรลุอรหันต์
ฝ่ายพระศาสดา ก็ได้ทรงเห็นความสำเร็จของเขา โดยไม่มีอันตราย จึงพยากรณ์ว่า จักเป็นผู้เลิศ แห่งผู้มีทิพยจักษุทั้งหลาย ในศาสนาของพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ในอนาคตกาล เขาเองก็กระทำบุญทั้งหลาย ในพระศาสนานั้น เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว ได้ทำการบูชาด้วยประทีปอันโอฬาร ที่สถูปทองขนาด ๗ โยชน์ และประทีปกระเบื้อง กับถาดสำริดเป็นอันมาก ด้วยอธิษฐานว่า จงเป็นอุปนิสัย แก่ทิพยจักษุญาณ เขาทำบุญทั้งหลายอยู่ตลอดชีวิต ท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก
ธรรมทาน ชนะการให้ทานทั้งปวง
การพิมพ์หนังสือธรรมะแจก เป็นกุศลอันยิ่งใหญ่ อานิสงส์สูง บารมีมาก เพราะเป็นการให้ปัญญา ให้แสงสว่าง ให้ความพ้นทุกข์ ให้ความสงบ ความสุขอันแท้จริงแก่คนทั้งหลาย ให้สุขกาย สุขใจกันถ้วนทั่ว ด้วยพลังแห่งการสวดมนต์ ภาวนา วิปัสนา สมาธิ คือบุญใหญ่ อานิสงส์สูง ง่ายงามสำหรับทุกคน
การสร้างหนังสือสวดมนต์แจกเป็นมหาทาน
จึงเป็นการส่งบุญ มอบแสงสว่าง มหาสติ มหาปัญญา ให้แก่คนทั้งหลาย
ดั่งพุทธพจน์กล่าวไว้ว่า…
“ผู้ใดให้ธรรมทาน ผู้นั้นชื่อว่าให้นิพพานแก่คนทั้งหลาย”