บุพเพสันนิวาส มุมมองของพระพุทธศาสนา ! คู่แท้ คู่บุญ คู่เวร คู่กรรม

บุพเพสันนิวาสเป็นเรื่องกรรม เพราะมีกรรมร่วมกันจึงได้เกิดมาเป็นคู่กัน..หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ คู่เวรคู่กรรม
“บุพเพสันนิวาส” นี้ มาจากคำว่า ปุพเพ กับคำว่า สันนิวาส
โดยคำว่า ปุพเพ แปลว่า ก่อน หรือเก่า กับคำว่่า
สันนิวาส แปลว่า โลกที่สัตว์ทั้งหลายเกิดร่วมกัน หรือการอยู่ร่วมกัน ความอยู่ร่วมกัน
(พระอุดรคณาธิการ (ชวิน สระคำ), ศ.พิเศษ ดร.จำลอง สารพัดนึก, พจนานุกรม บาลี-ไทย, หน้า ๗๘๙.)
เมื่อนำมารวมกันจึงแปลว่า การเคยอยู่ร่วมกันมาในชาติปางก่อนหรือในอดีตชาติ

ซึ่งหลายคนอาจจะมองว่าบุพเพสันนิวาสนั้นเป็นเรื่องที่ดีเท่านั้น
แต่ความจริงเรื่องบุพเพสันนิวาสนนี้ สามารถมองได้เป็น ๒ มุม คือ

(๑) เชิงบวก คือการได้เกิดมาพบรักกันอีกในชาตินี้เป็นคู่กันแล้วไม่แคล้วกันได้

(๒) เชิงลบ เป็นมุมที่หลายคนไม่เคยมอง เพราะมัวแต่มองว่าบุพเพสันนิวาสเป็นเรื่องที่ดีเท่านั้นแต่ส่วนที่ไม่ดีก็มีก็คือ การที่คนเรามีเวรมีกรรมกันมาก่อนแล้วก็โชคร้ายที่เกิดมาเจอกันทำให้เป็นคู่เวรคู่กรรมกันมา

เช่น พระพุทธเจ้ากับพระเทวทัต, ยักขิณีกับหญิงชาวบ้าน, หมีกับไม้สะคร้อเป็นต้น
ก็เป็นบุพเพสันนิวาสหรือเรียกว่าบุพเพสันนิวาสทั้งนั้นแหละ
แต่คนทั่วไปไม่มองกัน จะมองเฉพาะส่วนที่เป็นมุมมองของความรักหวานแหวว แต่เรื่องอื่นๆ
ไม่ได้มองกัน ซึ่งความจริงเรื่องของบุพเพสันนิวาส ๒ ลักษณะนั้นก็สามารถที่จะพิจารณาได้จาก

(๑) การเกิดมาพบกันของคน ๒ คน

(๒) ผลที่เกิดมาพบกันของคนที่จะมีความแตกต่างกันมาก
โดยพระพุทธศาสนาได้จัดลักษณะที่เป็นผลของการเกิดมาพบกันแบบบุพเพสันนิวาสนั้น
ไว้เป็น ๔ กลุ่ม คือ

๑. สามีผี (เกิดมาพบและได้) อยู่ร่วมกับภรรยาผี

๒. สามีผี (เกิดมาพบและได้) อยู่ร่วมกับภรรยาเทวดา

๓. สามีเทวดา (เกิดมาพบและได้) อยู่ร่วมกับภรรยาผี

๔. สามีเทวดา (เกิดมาพบและได้) อยู่ร่วมกับภรรยาเทวดา (อง.จตุกกไทย)๒๑/๕๓/..)

@ เป็นไงครับ”บุพเพสันนิวาส” เห็น ๆ เลยแบบนี้ ซึ่งทั้ง ๔ ข้อนั้นก็สามารถแบ่งได้เป็น

๓ ประเภทหลัก ๆ คือ

๑. ข้อที่่ (๑) เป็นผลที่เป็นลบ คือ ผีกับผีมาเจอกันแบบผัวเมียพอๆกันดังเขาว่า

๒. ข้อที่ (๔) มีผลเป็นบวกเทวดามาอยู่ร่วมกับเทวดาได้ทำบุญทำกุศลกันตลอดไม่เหมือน

ข้อที่ (๑) กินเหล้าเมายากหยำเปตลอดความชั่วทุกอย่างเห็นดีเห็นงามกันไปหมด

๓. ข้อที่ (๒) กับข้อที่ (๓) จัดเป็นประเภทที่มีผลครึ่งๆกลางๆ หมายความว่าถ้าผีกับเทวดาหรือเทวดามาอยู่ร่วมกันเมื่อไหร่ก็มีอันต้องเดือดร้อนหนัก เพราะคนดีกับผียากที่จะอยู่ร่วมกันได้
มันเป็นเรื่องครึ่งๆ

ในละครเรื่องนี้ เราสามารถนำหลักการนี้ไปคัดแยกบุพเพสันนิวาสของตัวละครได้นะครับว่าใครจะเกิดมาได้กับใครและเพราะสาเหตุอะไรเป็นต้นซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจในเรื่องธรรมะของพระพุทธศาสนามากขึ้นครับ

อนึ่งหากว่าใครที่ยังไม่ตายจากชาตินี้ที่เป็นสามีภรรยาอยากไปเกิดเป็นคู่ผัวตัวเมียกันอีก
จะต้องมีเหตุร่วมกัน ๔ อย่าง คือ

๑. สัทธาสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา)

๒. สีลสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยศีล)

๓. จาคสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยการเสียสละ)

๔. ปัญญาสัมปทา(ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)

เมื่อมีศรัทธา มีศีล มีจาคะ คือ การเสียสละและมีปัญญาร่วมกันย่อมสร้างเหตุที่จะไปเกิดเป็นคู่สามีภรรยากันอีกครั้งในชาติหน้าได้ ถ้าไม่เชื่อก็ลองทำตามนี้ดูนะครับ

@ อนึ่งคำว่าบุพเพสันนิวาสนี้ในมุมหนึ่งก็มีปรากฏในคำว่า บุพเพสันนิวาสานุสติญาน
คือ ญานหยั่งรู้อดีตชาติตัวเอง และกระบวรการเกิดการตายของสรรพสัตว์หรือญานที่เข้าไปรู้ชาติหรือขันธ์ของตนเองในหนหลังหลายร้อยหลายพันชาติซึ่งผมอธิบายไว้แล้วนะครับซึ่ง
ไม่เกี่ยวกับละครแต่ความหมายมันพ้องกันเลยนำมาอธิบายให้เข้าใจเท่านั้นเองครับ

อย่างไรก็ตามละครก็คือละครนะครับอย่าไปมัวนั่งดูละครแล้วลืมตัวอินไปกับละครจนต้องมาโศกเศร้าเอง เพราะนั่นมันเข้าสูตร “กินข้าวบ้านตัวเองแต่ไปทุกข์กับเรื่องของคนอื่น” ผมว่ามันไม่เข้าท่าเลยสักนิด…

ขอบคุณ :
ดร.อธิเทพ ผาทา
มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย